วันที่ 5 ก.พ. นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.59 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงหนัก” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 35.24 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 35.30-35.90 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.50-35.75 บาทต่อดอลลาร์คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
โดยนับตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนสูงและโดยรวมอ่อนค่าลงหนัก (แกว่งตัวในกรอบ 35.18-35.62 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นในช่วงก่อนตลาดรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐ ก่อนที่เงินบาทจะผันผวนอ่อนค่าลงเร็วและแรง จากรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐ ที่ออกมาดีกว่าคาดไปมาก ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างลดโอกาสที่เฟดจะรีบลดดอกเบี้ย ส่งผลให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กดดันทั้งเงินบาทและราคาทองคำ
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดแรงงานสหรัฐ ที่ยังคงแข็งแกร่งและท่าทีไม่รีบลดดอกเบี้ยของเฟด ทำให้เงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ทำจุดสูงสุดใหม่ของปี โดยในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ควรจับตา ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พร้อมติดตาม รายงานดัชนี ISM PMI ภาคการบริการของสหรัฐ, การปรับปรุงอัตราเงินเฟ้อ CPI และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
▪ ฝั่งสหรัฐ – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ โดย ISM (Services PMI) หลังจากที่ดัชนี ISM PMI ภาคการบริการในเดือนธันวาคม ได้สะท้อนภาพการชะลอตัวลงหนักของการจ้างงานในภาคการบริการ ทำให้ผู้เล่นในตลาดจะจับตาอย่างใกล้ชิดว่า ดัชนี ISM PMI ภาคการบริการในเดือนมกราคม จะส่งสัญญาณต่อภาพรวมของภาคการบริการ โดยเฉพาะการจ้างงานอย่างไร
นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะจับตา การปรับปรุงอัตราเงินเฟ้อ CPI ในส่วนของ Seasonal Factor ซึ่งอาจส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อ CPI ชะลอลงมากขึ้น หรือ น้อยลงได้พอสมควร โดยหากโมเมนตัมของอัตราเงินเฟ้อ CPI สะท้อนว่า อัตราเงินเฟ้ออาจยังไม่สามารถชะลอลงจนเข้าใกล้เป้า 2% ได้ภายในครึ่งแรกของปีนี้ ก็อาจทำให้ ผู้เล่นในตลาดยิ่งมองว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่าที่กำลังประเมินอยู่ และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้ ขณะเดียวกัน เรามองว่า รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ก็อาจเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่สามารถส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้
▪ ฝั่งยุโรป – บรรดาผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในปีนี้ ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ (CPI Inflation Expectations) ระยะสั้นและระยะกลาง รวมถึง ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ของยูโรโซน นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB ก็จะเป็นอีกปัจจัยที่ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามอย่างใกล้ชิด โดยหากผู้เล่นในตลาดมั่นใจว่า ECB อาจลดดอกเบี้ยได้เร็วกว่าเฟด (ก่อนเดือนพฤษภาคม) ก็อาจกดดันให้เงินยูโร (EUR) ผันผวนอ่อนค่าลงได้ ทั้งนี้ ค่าเงินยูโร (EUR) อาจผันผวนไปตามทิศทางของตลาดหุ้นยุโรป ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนในฝั่งยุโรปเช่นกัน
▪ ฝั่งเอเชีย – ในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ในเดือนมกราคมของจีน ซึ่งจะช่วยสะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนได้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางอินเดีย (RBI) โดยผู้เล่นในตลาดยังคงประเมินว่า ทั้ง RBA และ RBI จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 4.35% และ 6.50% ตามลำดับ หลังอัตราเงินเฟ้อได้ชะลอลงพอสมควร โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลีย ขณะเดียวกัน ภาพรวมเศรษฐกิจก็มีการชะลอตัวลงบ้าง ลดความจำเป็นของการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ
▪ ฝั่งไทย – ไฮไลต์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยเรามองว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ทว่า เราจะจับตาอย่างใกล้ชิด ว่า กนง. จะมีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมกับเริ่มส่งสัญญาณเตรียมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น หากจำเป็น หรือไม่ โดยหาก กนง. มีการปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2024 และ 2025 รวมถึงอัตราการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชน อย่างชัดเจน เช่น อัตราการเติบโตเศรษฐกิจทั้งสองปี “ต่ำกว่า” ระดับศักยภาพของเศรษฐกิจที่ +3%y/y พอสมควร ก็จะเพิ่มโอกาสที่ กนงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. อาจทยอยลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ได้
ทั้งนี้ ก่อนที่ตลาดจะรับรู้ผลการประชุม กนง. ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ในเดือนมกราคม โดยเราประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI อาจ “ติดลบ” ราว -0.9% จากปัจจัยระดับฐานราคาสินค้าและบริการที่สูงมากในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ การปรับตัวขึ้นของราคาพลังงานในช่วงเดือนมกราคม อาจพอช่วยลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อได้บ้าง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ซึ่งไม่รวมผลของราคาพลังงานและอาหารสดอาจยังทรงตัวที่ระดับ 0.60% สอดคล้องกับภาพการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศและภาพเศรษฐกิจโดยรวม
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า โมเมนตัมฝั่งอ่อนค่ากลับมาอีกครั้ง หลังเงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าเร็วและแรงจากรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐ ที่ดีกว่าคาด ทั้งนี้ ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุม กนง. ที่อาจกดดันเงินบาทได้ หากมีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ หรือมีการส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนี้ เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันเพิ่มเติม หากบรรดานักลงทุนต่างชาติเดินหน้าขายสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะในส่วนของบอนด์ระยะสั้น หากเงินบาทอ่อนค่าหนัก
ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า เงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นต่อ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดทำให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งเชื่อว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่าที่ตลาดประเมินไว้ (น้อยกว่า 5-6 ครั้ง) นอกจากนี้ เงินดอลลาร์อาจได้แรงหนุนเพิ่มเติม หากผู้เล่นในตลาดเชื่อว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจลดดอกเบี้ยได้เร็วกว่าเฟด ส่งผลให้เงินยูโร (EUR) ผันผวนอ่อนค่าลง
เราคงคำแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรเลือกใช้เครื่องมือในการปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น ท่ามกลางความผันผวนของเงินบาท รวมถึงสกุลเงินอื่นๆ ที่สูงขึ้นกว่าช่วงอดีตที่ผ่านมาพอสมควร โดยผู้เล่นในตลาดอาจเลือกใช้เครื่องมือเพิ่มเติม อาทิ Options หรือ Local Currency ควบคู่ไปกับการปิดความเสี่ยงผ่านการทำสัญญา Forward
ด้าน น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 1 สัปดาห์ (นับตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค. 2567) ที่ระดับ 35.69 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนจะกลับมาปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 35.61-35.63 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเช้าวันนี้ (09.22 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดในประเทศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ 35.25 บาทต่อดอลลาร์
ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ ที่แข็งค่าขึ้น พร้อมๆ กับการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐ หลังข้อมูลตลาดแรงงานของสหรัฐ มีสัญญาณแข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาด ซึ่งลดความเป็นไปได้ที่จะเห็นธนาคารกลางสหรัฐ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบการประชุมใกล้ๆ นี้ (เพิ่มโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ จะทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน) ทั้งนี้ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ ปรับเพิ่มขึ้น 353,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. (ตลาดคาดที่ 180,000 ตำแหน่ง) ขณะที่อัตราการว่างงานเดือนม.ค. อยู่ที่ 3.7% (ตลาดคาดที่ 3.8%)
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ ประเมินเบื้องต้นไว้ที่ 35.55-35.75 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค. ของไทย ทิศทางฟันด์โฟลว์ ดัชนี ISM/PMI ภาคบริการเดือนม.ค. ของสหรัฐ และดัชนี PMI ภาคบริการเดือนม.ค. ของญี่ปุ่น จีน ยูโรโซน อังกฤษ